Sunday, May 3, 2015

เมื่อเทพอสูรแห่งกะลาแลนด์ ส่งสมุนออกมาโจมตี "ซีพี" เจ้าสัว จะต้องถวายคืนเป็นพระราชทรัพย์อีกเท่าไหร่ จึงจะรอด???


บริษัทซีพีผูกขาดการตลาด

ดร.อาทิตย์จี้รัฐแก้ปัญหาซีพีผูกขาดก่อนจะถึงจุดแตกหัก
ดร.อาทิตย์จี้รัฐแก้ปัญหาซีพีผูกขาดก่อนจะถึงจุดแตกหัก
Last updated: 1 May 2015 | 15:31
CP Group ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์มาก ล่าสุด ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ชี้'ซีพี'กำอนาคตประเทศ จี้รัฐแก้ระบบผูกขาดก่อนแตกหัก
เฟซบุ้คของ อิสรา มะลิวัลย์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 เขียนไว้ว่า ซีพีตะครุบเทสโกโลตัสคืน 3 แสนล้านแล้วยึดค้าปลีกไทยเบ็ดเสร็จเป็นเรื่องที่คาดไว้ล่วงหน้าแล้ว และก็เป็นกระแสข่าวที่หนาหูทั้งในและต่างประเทศ ที่คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ CEO ของซีพี เตรียมประกาศซื้อ Tesco Lotus ในไทยอย่างเป็นทางการด้วยเงิน 3 แสนล้าน
มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ธุรกิจการเกษตร ค้าปลีกนั้น เท่ากับเครือเจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป หรือ CP คุมการเกษตรทั้ง ข้าว หมู ไก่ กุ้ง อาหารสัตว์ ปุ๋ย พืชพลังงาน นอกจากนั้นยังคุมเทคโนโลยี่สื่อสาร ทั้งโทรบ้าน โทรมือถือ internet และมีสื่อในมือ คือ truevision สรุปคือ CP จะคุมระบบค้าปลีกค้าส่งทั้ง modern trade และ traditional trade ครบวงจร มี 7-11 ส่วนห้างค้าปลีก ค้าส่ง makro และLotus
ก่อนหน้านี้คอลัมน์ Market-Think ของสรกล อดุลยานนท์ เรื่อง CP BANK? ในประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ก็วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าข่าว "เซเว่นอีเลฟเว่น" และกลุ่มทรู ซื้อหุ้น LH BANK จากกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นจริง เราคงได้เห็น "เกมใหม่" ในแวดวงการเงิน เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา "ซีพี" มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายครั้ง
ครั้งแรกคือการเข้าซื้อหุ้นของ"ผิงอัน"บริษัทประกันรายใหญ่ของจีน ซึ่งเสน่ห์ของ "ผิงอัน" คือเงินสดจากเบี้ยประกันที่นอนนิ่งอยู่ในบริษัท
ครั้งที่สองคือการซื้อ "แม็คโคร"ของ "เซเว่นอีเลฟเว่น"ทำให้ "ซีพี" กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการค้าส่งและค้าปลีกและ
ครั้งที่สาม คือการดึง"ไชน่าโมบาย" ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน มาถือหุ้นใน"ทรู"ดังนั้น หาก"ทรู"และ"เซเว่นอีเลฟเว่น"ซื้อ LH BANK จริง จะเป็นการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ของ"ซีพี"ครั้งที่ 4 ในรอบ 2 ปี เพราะเซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขาอยู่ 8,000 สาขา เป็นทำเลที่ดีที่สุดสำหรับตู้เอทีเอ็ม มี "เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ที่สามารถรับจ่าย รับโอน รับจองตั๋ว ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง
สรุปยอดรายได้เมื่อปีที่แล้ว รายได้ของ"เซเว่นอีเลฟเว่น" 284,760 ล้านบาท แมคโคร 129,780 ล้านบาท รวมกันเป็นตัวเลขกลมๆประมาณ 410,000 ล้านบาท หรือเดือนละ 34,000 ล้านบาท เมื่อรวมโลตัสเข้าไปอีกรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นแตะ 5 แสนล้านบาทในอนาคตไม่ยากนัก
ดังนั้นการซื้อเทสโก้โลตัสครั้งนี้จึงเป็นก้าวเดินการเทคโอเวอร์ครั้งที่ 4 ก่อนที่จะไปซื้อ L&H แบงก์ในอีกไม่นานเป็นก้าวที่ กลายเป็นเบอร์ที่เท่าไรของโลกไม่แน่ใจ แต่จำได้เคยมีใครพูดว่า ผมสนับสนุนนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล มีอะไรผมรับผิดชอบเอง ประเทศเสียหายไปหลายแสนล้านบาท ทำไมเงียบเป็นเป่าสากเลยเถ้าแก่ CP เชียร์นโยบาย ค่าแรงสูงกับราคาข้าวสูง (2 สูง) ผลก็เป็นอย่างนี้ที่เห็น เศร้าเศรษฐีไทยที่มารวยระยะ 50 ปีหลังนี้ส่วนใหญ่ อาศัยอำนาจรัฐไปผูกขาด หรือเอื้ออำนวยธุรกิจตัวเอง ใครก็คิดกินรวบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ต่ในระบบเศรษฐกิจเสรี ไม่ง่ายที่ใครสามารถทำได้ อย่างแน่ๆรัฐบาลไม่ยอม อเมริกาถึงกับออกกม. anti trust ขัดขวางการกินรวบเช่นนี้ ถ้าท่านธนินทร์แน่อย่างที่ทำในเมืองไทย ทำไมธุรกิจที่ฮ่องกง จีน จึงไม่เก่งแบบที่นี makro ที่จีนไม่ทำกำไร จะล่มเอา ธุรกิจเรื่องไก่ก็ไม่แน่แบบที่นี้ รายย่อยทำได้ถูกกว่า สู้เขาไม่ได้ ทุกธุรกิจที่ทำนอกประเทศแค่อยู่รอด เมื่อไม่มีอำนาจรัฐหนุนท่านก็เป็นแมวน้อยเชื่องตัวหนึ่งเท่านั้น
สำหรับผม ธุรกิจไทยที่แน่จริงข้ามโลกคือกระทิงแดงเท่านั้น เพราะแข่งกับเขามือเปล่า ไม่มีรัฐช่วยมีอีก จำได้หรือไม่ว่า ใครสนับสนุนให้รัฐบาลทักษิณปลูกยางในทุกภาคเพื่อส่งไปขายจีน โดยบอกว่าเป็น นํ้ามันบนดิน และเดินสายพูดเรื่องนี้อยู่หลายปี พอยางล้นตลาดราคาตก เงียบเลย ไม่เห็นแสดงความรับผิดชอบอะไรเลย นี่เป็นอีกเรื่องของคุณธนินทร์ คนไทยไม่ได้ลืมง่ายหรอก
สมัยก่อนตอนทำ 7-11 ใหม่ๆ CP ไม่อยากเสี่ยง ก็ชวนคนเข้ามาลงทุนหาซื้อที่ดินทำเลดีๆพร้อมสร้างอาคารแล้วมาเปิด 7-11 เอาของCP ไปขาย คนลงทุนก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน หวังกินกำไรจากที่ CP แบ่งให้บ้าง
ต่อมาระยะหนึ่ง CP ก็เล็งเฉพาะร้านที่ยอดขายสูง กำไรงาม แล้วเข้าไปเสนอซื้อคืนเพื่อ CP จะทำเอง ร้านไหนยอมขายก็จบไป ร้านไหนไม่ขาย CP ลงทุนเอง เปิดร้านใหม่ในทำเลนั้น แข่งกันไปเลย เอาแบบให้เจ๊งไปข้างหนึ่ง ถ้าร้านนั้นไม่ขาย มันก็จะซื้อที่ใกล้ๆ ออกมาตั้งแล้วแข่งกับเจ้าเดิม
หน้าปากซอยบ้านผม มี 7-11 3 ร้าน แต่ละร้านห่างกันไม่ถึง 50 เมตร คนที่คิดกินรวบทุกอย่าง ต้องพึ่งพาใช้อำนาจรัฐ ทำให้สังคมเมืองและชนบทเป็นทาสมันตลอดการ ฆ่าคนในสังคมทั้งเป็น อย่างนี้หรือเป็นคนที่น่ายกย่อง คำพูดดูสวยหรู แต่ในใจ เราจะอยู่กับชาวไร่ชาวนา ชาวสวน และ ผู้เลี้ยงสัตว์อย่างพันธมิตร
โดยกูจะใช้สัญญาทาส มาควบคุมให้พวกมึงเป็นหนี้กูตลอดไป กูมีแต่ได้กับได้ บริษัทอื่นเจ๊งหมด โดยเฉพาะร้านค้า sme ทั้งหลาย สนับสนุนเลี้ยงไก่ ไข่ ปลูกยางแล้วกูจะเป็นพ่อค้าคนกลางดูดเงินจากพวกมึงอีกที
ทุกวันนี้ เขาอาศัยอำนาจรัฐ สร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลอนุมัติธุรกิจที่กำไรง่ายมากให้กับร้าน 7-11 เช่น นาโนแบงคิ้ง ขายยา ขายล็อตเตอรี่ ตอนนี้ก็แย่งขายกาแฟสดกับร้านกาแฟแล้ว ทุกอย่างอาศัยอำนาจรัฐทั้งนั้น เจ้าตำรับ 7-11 ญี่ปุ่นยังต้องงงงวย มันทำได้อย่างไร
ตอนมี 7-11 ใหม่ๆ คนขับรถลูกน้องเพื่อนลาออก เอาบ้านไปจำนอง ดาวน์รถปิ๊คอัพ ไปวิ่ง fleet logistics ให้ 7-11 แค่ 1-2 ปี Volume 7-11 สูงมาก CP เลิกจ้าง ทำ  logistics เอง ลูกน้องเพื่อน บ้านติดจำนอง รถยังผ่อนไม่หมด ถูกลอยแพ นี่แหละวิธีการสร้างอาณาจักรธุรกิจของCP อาศัยคนอื่นลงทุนเสี่ยงขาดทุน แต่หากได้กำไรดีจะ Take over  ( Cr.พท.พญ.กมลพรรณ )
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ออกโรง
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตและอดีตประธานรัฐสภา โพสต์เฟซบุ๊ก "Arthit Ourairat" โดยแชร์ข้อความจากเฟซบุ๊กของ "Pat Hemasuk" ซึ่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้าของบริษัทยักษ์ใหญ่กับประเทศไทย โดยนำไปเปรียบเทียบกับประเทศเม็กซิโกและอาร์เจนตินาซึ่งถูกระบบการค้าทุนสูงเข้าถล่มอุตสาหกรรมเกษตรจนล่มสลายมาแล้ว
นอกจากนี้ผู้เขียนยังตำหนิไปถึงรัฐบาลในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านรวมไปถึงรัฐบาลทหารในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถออกกฎหมายจัดการกับระบบผูกขาด ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนตั้งแต่ชนชั้นรากหญ้าไปจนถึงคนเมือง และหากรัฐบาลยังเป็นแบบนี้ต่อไป คาดว่าสักวันหนึ่งประชาชนอาจต้องจับมือกันลุกขึ้นมาจัดการธุรกิจผูกขาดกันเอง
ระบุข้อความดังนี้
ระบบการค้าที่ไร้จริยธรรมหวังเพียงผลกำไรนั้นจะทำลายสังคมไม่ต่างกับฝูงตั๊กแตนที่ลงกินไร่จนหมดแล้วบินจากไปกินไร่อื่นต่อ แต่ถ้าเป็นการค้าที่ไม่ได้ข้ามชาติแล้วยังใช้ระบบฝูงตั๊กแตนกินไร่ในการทำธุรกิจ ฝูงตั๊กแตนจะต้องอดตายไปพร้อมกับไร่นั้น

ซีพี ก็เช่นกัน ถ้ากินประเทศไทยจนหมดแล้วก็คงต้องตายไปพร้อมกับประเทศ เพราะ ซีพี เองเคยผันตัวเองออกไปทำธุรกิจข้ามชาติแล้วไปไม่รอด เพราะรัฐบาลประเทศนั้นๆ ต่างก็ดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดขึ้นในประเทศของตัวเอง ถ้าผิดจากแนวทางถนัดของ ซีพี ก็จะแข่งขันแบบเป็นธรรมกับใครไม่เป็น
เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงประเทศเม็กซิโกและอาร์เจนตินาที่โดนระบบการค้าทุนสูงเข้าถล่มอุตสาหกรรมเกษตรของตัวเองจนล่มสลายมาแล้ว จนทำให้เกษตรกรกลายมาเป็นแรงงานราคาถูกไร้อนาคตจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโดยอำนาจทุนที่เหนือกว่าเข้ากำหนดตลาดจนเกษตรกรรายย่อยอยู่ไม่ได้
หลายสิบปีผ่านไปทั้งชุมชนและวัฒนธรรมของประเทศเปลี่ยนไปแบบที่เรียกกลับมาเหมือนเดิมอีกไม่ได้ บ้านแตกสาแหรกขาด คนหนุ่มสาวในบ้านต้องออกไปขายแรงงานทิ้งเด็กและคนแก่ไว้ที่บ้านแทนที่จะทำการเกษตรเหมือนสมัยเก่าอยู่กันครบหน้ากับครอบครัว
มันคืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยอำนาจทุนที่เหนือกว่าสมคบกับนักการเมืองที่ไม่ทำหน้าที่ปกป้องประชาชนของตัวเอง ทำลายรากฐานของประเทศจนสังคมดั่งเดิมของประชาชนอยู่ไม่ได้
ทุกวันนี้ประเทศไทยกับเม็กซิโกจะคล้ายกันที่สินค้าการเกษตรถูกคุมตลาดจากบริษัทที่ผูกขาด จนทำให้เกษตรกรกลายเป็นกรรมกรแรงงานบนที่ดินของตัวเอง เม็ดพันธุ์ แม่พันธุ์ ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง จนถึงการบังคับทำสัญญาขายผลผลิตที่เกือบไม่เหลือเงินกำไร ขณะที่สังคมพื้นบ้านของเกษตรกรอ่อนแอลงไปทุกขณะ บริษัทผูกขาดก็กำไรมากขึ้นจนกลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งของประเทศที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องเกรงใจ
ทั้งที่รัฐบาลเองก็สามารถออกกฎหมายผูกขาดทางการค้าออกมาใช้ปกป้องประชาชนได้ แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่ออกมาทำกฎหมายนี้เพื่อบังคับใช้เพื่อหยุดการปล้นประชาชนทั้งประเทศแบบผูกขาด
ในสังคมเมืองเองก็ใช่ว่าจะรอดพ้นจากการผูกขาดโดยบริษัทใหญ่แบบนี้ ในเม็กซิโกเองห้างสรรพสินค้าใหญ่อย่างวอลล์มาร์ทเข้าไปผูกขาดการค้าปลีกค้าส่งไปจนคลุมทั้งพื้นที่จนหมด ไม่ต่างอะไรกับที่ห้างสรรพสินค้าแคร์ฟูเข้าครองการค้าปลีกและส่งของอาร์เจนตินา จนมีอำนาจผูกขาดโดยสมบูรณ์ที่สามารถกำหนดส่วนแบ่งทางกำไร 85%-15% ระหว่างห้างและเกษตรกรหรือผู้ค้าส่งสินค้าเข้าห้างจนเกษตรกรและผู้ค้ารายย่อยอยู่ไม่ได้
ทุกวันนี้สังคมเมืองของประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน ผู้ค้ารายย่อยถึงกับต้องปิดตัวเองลงทั้งหมดเมื่อมีร้านสะดวกซื้อของ ซีพี เข้าไปตั้ง ซึ่งกินตลาดเข้าไประดับล่างจนถึงร้านอาหารที่ต้องสู้กับอาหารกล่อง ไปจนแม้แต่รถเข็นหมูปิ้งก็ยังต้องสะเทือนที่ร้านสะดวกซื้อของ ซีพี ก็ขายหมูปิ้งเช่นกัน แม้กระทั่งธุรกิจพื้นฐานแบบซักรีด ซีพี ก็เข้าไปจับตลาดในร้านสะดวกซื้ออีกแล้ว อุตสาหกรรมพื้นฐานหลายอย่างที่ส่งสินค้าเข้าไปขายก็โดนแย่งตลาดโดยมีของที่ห้างโลตัสและซีพี ผลิตติดตราของตัวเองออกมาแข่งบนหิ้งเดียวกันแต่ราคาถูกกว่า แล้วไล่สินค้ายี่ห้อดั่งเดิมออกไปวางที่หิ้งหลังร้านแทน
เวลานี้แม็กโคร ก็โดนซื้อจาก ซีพี ไปเรียบร้อยแล้ว เทศโก้โลตัสมีข่าวออกมาครึ่งปีว่ากำลังดีลซื้อ จะบอกว่าการค้าส่งและค้าปลีกเกือบทั้งประเทศ อยู่ในกำมือของบริษัทเดียวก็ว่าได้ การแข่งขันราคาสินค้าก็หมดไป จะตั้งราคาบวกกำไรอย่างไรก็ได้เพราะทุกอย่างอยู่ในมือหมดแล้วไม่ต่างกับเม็กซิโกและอาร์เจนตินา

ระบบรถไฟความเร็วสูงซีพีได้นำบริษัทลงทุนจากจีนเข้ามาเสนอที่จะสร้างในสายกรุงเทพฯ-ระยอง
--------------------------------------------
นอกจากธุรกิจการสื่อสาร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์นับล้านหมายเลข เคเบิลทีวีรายใหญ่ที่สุด เวลานี้ ซีพี บุกเข้าจับธุรกิจ ลอจิสติกส์ส่งของแข่งกับไปรษณีย์ไทย และกำลังจะมีธนาคารของตัวเองที่ทำธุรกรรมการเงินได้ในร้านสะดวกซื้อตลอด 24 ชั่วโมง สามารถออกเครดิตการจับจ่ายได้จนถึงระดับล่าง และในเวลานี้กำลังมีความสนใจจะเข้าไปจับการลงทุนในระบบรถไฟระบบใหม่ที่กำลังจะสร้างอีก
ประเทศไทยยังเหลืออะไรอีก ตั้งแต่สังคมพื้นฐานเกษตรกรก็โดน ซีพี เข้าคุมกลไกทั้งหมดตั้งแต่ การผลิต การตลาด ทั้งซื้อและขาย จนเกษตรกรกลายเป็นกรรมกรราคาถูกรับจ้างปลูกหรือผลิตในที่ดินของตัวเอง สังคมพื้นฐานในเมืองก็โดนแทรกแซงการค้าปลีกจนไม่เหลือร้านค้าปลีกประจำถิ่นอีกต่อไปแล้ว สังคมพื้นฐานอุตสาหกรรมการผลิตรายย่อยก็โดนแทรกแซงจากการกีดกันสินค้า ลอกเลียนสินค้าออกขายแข่ง แม้กระทั่ง ถล่มราคาขายถูกกว่าทุนจนรายย่อยอยู่ไม่ได้ แล้วก็ขึ้นราคากลับสู่ปกติเมื่อไร้คู่แข่งแล้ว
รวมถึงปัญหาทำลายสิ่งแวดล้อมสนับสนุนทางอ้อมให้เกษตรกรบุกพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นพื้นที่ภูเขาเพื่อปลูกข้าวโพดและเผาซากไร่เก่าจนปัญหาควันไฟกลายเป็นปัญหาใหญ่ แม้กระทั่งสนับสนุนประมงอวนรุนผิดกฎหมายทางอ้อมที่ทำลายตัวอ่อนของสัตว์น้ำโดยรับซื้อปลาเล็กปลาน้อยที่ยังไม่โตเต็มวัยมาเข้าโรงงานทำอาหารสัตว์
มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลและนักแสวงโชคทางการเมืองที่เปลี่ยนหน้ากันขึ้นมาบริหารประเทศจะมองไม่เห็นไม่รับรู้ผลกระทบทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง จากการผูกขาดการค้าของ ซีพี แต่ไม่เคยมีรัฐบาลไหนจัดการกับปัญหาการผูกขาดอันนี้ ทั้งที่ประเทศเจริญแล้วที่มีกฎหมายดูแลประชาชนดีๆ เขามีกฎหมายป้องกันการผูกขาดการค้าทั้งนั้น ไม่ปล่อยให้บริษัทไหนหรือตระกูลใดกำอนาคตทางธุรกิจผูกขาดทั้งประเทศจนยิ่งใหญ่ได้ขนาดนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือ คนไทยมีเลือดนักสู้ไม่เหมือนคน เม็กซิกัน หรือ อาร์เจนตินา ที่คนไทยจะออกมาสู้ก่อนที่หลังจะชนฝา สักวันในเร็วๆ นี้ถ้า ซีพี ยังทำเรื่องเอาเปรียบสังคมออกมาเรื่อยๆ วันนั้นคนไทยอาจจะลุกขึ้นมาสู้กับ ซีพี ..... ถ้ารัฐบาลยังพึ่งไม่ได้ แม้แต่รัฐบาลทหารปัจจุบันนี้ก็ตาม ถ้าไม่จัดการเรื่องนี้ ผมคิดว่าประชาชนอาจจะต้องจับมือกันลุกขึ้นมาจัดการธุรกิจผูกขาดกันเอง
ต่อมาผู้เขียนได้โพสต์ข้อความในช่องแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง เนื่องจากได้รับคำชี้แจงจากบุคลากรของซีพีเกี่ยวกับกรณีการเข้าไปซื้อกิจการเทสโก้โลตัสของซีพี ระบุว่า มีคนที่ทำงานกับ ซีพี มาขอแก้ข่าวให้ข้อมูลว่าเวลานี้ดีลการซื้อโลตัสยังไม่จบ โลตัสยังไม่ใช่ของ ซีพี เพราะบริษัทแม่ยังตัดสินใจ ดังนั้นผมขอเพิ่มข้อมูลตามนี้ครับ
แต่ผมจะเพิ่มคำพูดของเจ้าสัวเมื่อตอนมีข่าวใหญ่ในดีลซื้อโลตัสว่า "แต่ถ้าหาก เทสโก้ โลตัส จะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ เพราะนโยบายของผมคือ ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี คนเก่งในโลกนี้เป็นของซีพี เงินในโลกนี้เป็นของซีพี แต่อยู่ที่ว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า เขายอมให้เราใช้หรือเปล่า"

( Cr. แนวหน้า)
First posted: 1 May 2015 | 15:31

Author : paisan
เครดิต เป็นของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทั้งหมด โปรดสนับสนุนสำนักข่าวที่รายงานความจริงอันเป็นคุณแก่บ้านเมืองทุกสำนัก

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.

Lesson 9: Learning Grammar Through Conversations by Dr. Snea Thinsan

Lesson 9: Learning Grammar Through Conversations by Dr. Snea Thinsan Lesson 9: Learning Grammar Through Convers...