Sunday, November 8, 2015

กองกำลังนานาชาติ ของสหประชาชาติ มีอำนาจเข้าไทย เพื่อหยุดยั้งการฆ่าประชาชน จริงหรือ?

มีการกล่าวกันว่า เมื่อมีกองกำลังต่างชาติ โดยองค์การสหประชาชาติ ยกเข้ามาจัดการ ในการแก้ปัญหาของ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ประเทศไทย แก้ไขไม่ได้



๑. โดยกล่าวหาว่า"นานาชาติ เข้ามาเสือก ในกิจการภายในของประเทศไทยนั้้น " ตรงนี้ผมต้องขออธิบายสักนิด

๒. แต่เดิมนั้น "รัฐทุกรัฐ สามารถอ้างเหตุ เรื่องการแทรกแซงกิจการภายใน ของตนได้ เป็นไปตาม Classic International Law ในเรื่อง อำนาจอธิปัตย์ แห่งรัฐ หรือ State's Sovereignty" จึงเกิดการฆ่ากันแหลกราน


๓. ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (เดือนกันยายน ปีค.ศ.1938 อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ประกาศสงครามกับ ประเทศเยอรมันนี ในกรณีของดานซิกซ์ ในโปแลนด์) จนนำไปสู่การละเมิดกฏเกณฑ์สนธิสัญญา กรุงเฮก ปีค.ศ. 1899 - 1907, สนธิสัญญากรุงเจนีวา ปีค.ศ.1925 จนนำไปสู่การฆ่า และ ทรมานเชลยศึก ไปจนถึงการฆ่าฟันพลเรือน (ชาวยิว, โปแลนด์ ยิปซี พวกสล๊าฟ ตายนับล้านๆ)


๔. ซึ่งเราเรียกการทรมานและการฆ่าว่า "เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ในเอเชีย ก็เมื่อกองทัพลูกพระอาทิตย์ ฆ่าชาวจีน ฟิลิปปินส์ ตายรวมแล้ว หลายล้านคน


๕. ในโซเวียตรุสเซีย เมือสตาลินใช้นโบบาย กำจัดศัตรูคู่แข่ง ที่เห็นตรงข้ามตน คนต้องล้มตายไม่ต่ำกว่า สองถึงสามล้านคน

๖. ด้วยเหตุนี้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บรรดานายพลนาซี เยอรมัน และญี่ปุ่น จึงต้องถูกประหารชีวิต เพราะ กระทำการขัดต่อ ข้อห้ามของ โลก ในการใช้กำลังและ อาวุธ รวมทั้ง ทหารเพื่อเข่นฆ่าผู้คน ตาม the London Charter, 1938 (สนธิสัญญานี้ยังไม่ถูกยกเลิก แต่พักการใช้)


๗. ในเวลาต่อมาเกิด เป็นสนธิสัญญาป้องกัน และ ลงโทษ ต่อผู้กระทำความผิดอาญาในฐาน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปีค.ศ.1951 และ มีสนธิสัญญาว่าด้ว การการทรมาน ปีค.ศ.1984 และสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับ การขจัดการ การเหยียดเผ่าพันธุ์ทุกรูปแบบ รวมทั้งสนธิสัญญาว่าด้วย เรื่องการขจัดการกระทำ ที่เป็น Apartheid

๘. แม้กระนั้น ก็เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขึ้นในหลายๆแห่ง บนพื้นพิภพนี้ เช่นในเอธิโอเปีย อิรัค ลิเบีย ไฮติ บอสเนีย เฮอร์เซ โกวีน่า ราวันด้า และ ซูดาน จนคณะมนตรีความมั่นคงของ องค์การสหประชาชาติ ต้องจัดตั้งศาลอาญาพิเศษ ขององค์การสหประชาชาติในปีค.ศ.1994 - 1995


๙. ตามข้อบัญญัติที่ 827(1993), ที่ 627 (1994) และ ในเวลาต่อมาเกิดสนธิสัญญากรุงโรม หรือ Rome Statue,1998 เพื่อลงโทษแก่ ความผิดอาญา ฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และ ความผิดในฐาน เป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติขึ้น ในศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ the International Criminal Court หรือ ศาล ICC ตามคำร้องขอของชาติสมาชิก โดยให้องค์การสหประชาชาติ เป็นสปอนเซอร์ ในการจัดตั้งศาลอาญาถาวรขึ้น

๑๐. ในที่สุดเมือปีค.ศ.1991 องค์การสหประชาชาติ เริ่มก่อตั้งคณะกรรมการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขึ้น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมาย เป็นส่วนใหญ่ และ ประกาศนโยบายนี้สำเร็จ เป็นผล ในปีค.ศ.2004

๑๑. ซึ่งเนื้อใจใจความก็ "เพื่อก่อให้เกิด การใช้อำนาจของ การร่วมกลุ่ม เพื่อขจัดกวาดล้างแก่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่เกิดขึ้น ในรัฐเจ้าของพลเมือง และ รัฐนั้นๆ ไม่ทำหน้าที่ปกป้องพลเมืองของ ตนเอง จากการฆ่าเช่นว่านั้น


๑๒. จึงให้สิทธิแก่ รัฐข้างเคียง และ รัฐอื่นๆ รวมตัวกัน เข้าปกป้องพลเมือง ของรัฐ ที่เป็นเจ้าของพลเมือง โดยการยกกองกำลังทหาร เข้าไปสอดแทรก การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่เกิดขึ้นอยู่ ในขณะนั้นได้"

๑๓. นี่จึงเป็นการสิ้นสุดของ หลักอำนาจอธิปัตย์สูงสุด และ เด็ดขาด ของรัฐ ตาม Classic International Law และหลักการบางส่วนของ Peaceful Co - Existence ที่นำเสนอโดยปูโทรส ปูโทรส กาลี อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในปีค.ศ.2000


๑๔. ด้วยเหตุดังได้กล่าวมานี้ ในวันนี้ การใช้กองกำลัง เข้าไปขจัด กวาดล้าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่เกิดในรัฐใดๆ จึงกระทำได้ และ ไม่ถือว่า "เป็น การแทรกแซงต่อ กิจการภายใน ของรัฐ ผู้ก่อเกิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เช่นว่านั้นๆ ในเมื่อรัฐนั้นๆ มีอำนาจ ที่จะป้องกัน กลับ ไม่ให้การป้องกัน แก่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ต่อพลเมืองของ ตนเอง เช่นที่ว่ามานี้


เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.

Lesson 9: Learning Grammar Through Conversations by Dr. Snea Thinsan

Lesson 9: Learning Grammar Through Conversations by Dr. Snea Thinsan Lesson 9: Learning Grammar Through Convers...